ความเสี่ยงด้าน ทรัพย์สิน ที่สรรพากรเพ่งเล็ง
top of page
  • Writer's pictureBank Pattarawit (ผู้สอบบัญชี)

ความเสี่ยงด้าน ทรัพย์สิน ที่สรรพากรเพ่งเล็ง




เนื่องมาจากในปีนี้ ทางกรมสรรพากร จะใช้ระบบคอมพิวเตอร์ และ BIG DATA ในการประมวลผลเพื่อหา ความเสี่ยงที่ผู้ประกอบการอาจ ทำไม่ถูกต้องในการจ่ายภาษี

ทาง สำนังานบัญชี AccountWorks ซึ่ง รับทำบัญชี ให้แก่บริษัทหลายราย ได้ตระหนักถึงประเด็น การตรวจสอบ ดังกล่าวดี และเตรียมการวางแผนการป้องกัน ตามความเสี่ยง ที่ทางกรมสรรพากร ได้สรุปประเด็นความเสี่ยงที่ท่านสรรพากรมักเจอ จากการเข้าไปตรวจแนะนำต่างๆ ซึ่งความเสี่ยงนี้ ถ้ารู้ก็ควรรีบแก้ไข


ความเสี่ยงดังกล่าว เฉพาะด้าน สินทรัพย์ ตามงบดุล ประกอบด้วยดังนี้

 

บัญชี - เงินสด และ รายการเทียบเท่าเงินสด

- รายการเงินสดอยู่ในการครอบครองของกรรมการทั้งจำนวน หรือจำนวนมาก โดยไม่มีรายการเงินฝากสถาบันการเงิน อาจถือเป็นการให้กรรมการกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ยได้

- กิจการไม่มีการกระทบยอดรายการเงินสด

- กิจการใช้เงินสดในการชำระรายการค้าทุกรายการ หรือบันทึกรายการด้วยบัญชีเงินสดทั้งหมด

- กิจการมีการตั้งวงเงินสดย่อยเพื่อใช้ในจำนวนที่สูงมาก และหลักฐานการเบิกชดเชยเงินสดย่อยมีเพียงใบเสร็จรับเงินหรือบิลเงินสด หรือหลักฐานการเบิกจ่ายที่กิจการทำขึ้นเท่านั้น

 

บัญชี - ลูกหนี้การค้า

- กิจการมีลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่นจำนวนสูง โดยอาจเป็นลูกหนี้ที่ไม่มีตัวตนหรือเป็นยอดเงินให้กู้ยืมที่ไม่ได้นำมาแสดงไว้ในงบการเงิน ซึ่งอาจแสดงให้เห็นได้ว่า กิจการมีการแสดงรายได้สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริง

 

บัญชี - เงินให้กู้ยืมระยะสั้น

- กิจการไม่มีเงินให้กู้ยืมกรรมการจริง แต่มีรายการดังกล่าวแสดงในงบการเงิน

- กิจการมีเงินให้กู้ยืม แต่ไม่มีรายการดอกเบี้ยรับ

- กิจการมีการให้กู้ยืมเงินจากปีที่ผ่านมา แต่คำนวณดอกเบี้ยรับ ณ วันสิ้นปี

 

บัญชี - สินค้าคงเหลือ

- กิจการมีสินค้าคงเหลือสูง หรือต่ำกว่าข้อเท็จจริง (สินค้าขาด/เกิน)

- รายงานสินค้าคงเหลือของกิจการไม่ตรงกับสินค้าที่มีอยู่จริง

- กิจการไม่มีผลิตภัณฑ์พลอยได้ ของเสีย ของมีตำหนิ และเศษซากคงเหลือในรายงานสินค้าและวัตถุดิบ และไม่มีการออกใบกำกับภาษีขาย

 

บัญชี - ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์

- งบการเงินไม่แสดงรายการสินทรัพย์ในการประกอบกิจการ หรือสินทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดรายได้ของกิจการ

- กิจการแสดงสินทรัพย์ในบัญชีสูงหรือต่ำกว่าเป็นจริง

- กิจการมีการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี หรือกิจการใช้วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาตามนโยบายการบัญชี ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามประมวลฯ

- กิจการบันทึกสินทรัพย์ที่ได้มา โดยการเช่าซื้อ หรือลิสซิ่ง ไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามประมวลฯ

 

โดยในบทความถัดไป จะกล่าวถึง ความเสี่ยงด้าน หนี้สิน ที่สรรพากรเพ่งเล็ง

อย่างไรก็ตาม ควรรีบ ตรวจสอบบัญชีในกิจการท่าน และ สอบถามผู้ที่ รับทำบัญชี ให้แก่ท่านทราบถึงความเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้ ให้ดีๆ


เพื่อป้องกัน ปัญหาการตรวจสอบจากสรรพากรในภายหน้า เพื่อป้องกันปัญหา ค่าปรับ ที่อาจตามมาได้

 

รับทำบัญชี เปิดบริษัท จดทะเบียนบริษัท ตรวจสอบบัญชี



บริษัท แอคเคาท์เวิร์ค จำกัด

Tel : 092-478-2917

Line : @accountworks

Recent Posts
Please Follow Us
bottom of page