ความเสี่ยงด้าน รายได้ & ค่าใช้จ่าย ที่สรรพากรเพ่งเล็ง
top of page
  • Writer's pictureBank Pattarawit (ผู้สอบบัญชี)

ความเสี่ยงด้าน รายได้ & ค่าใช้จ่าย ที่สรรพากรเพ่งเล็ง


ทางสำนักงานบัญชี แอคเคาท์เวิร์ค ขอแชร์บทความ เรื่อง

"รวมประเด็นความเสี่ยงจากการตรวจแนะนำ โดยกรมสรรพากร"

ซึ่งได้สรุปประเด็นความเสี่ยงที่มักจะตรวจพบจากการเข้าตรวจสอบและแนะนำตาม บริษัท ห้างร้าน ต่างๆ

ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะประเด็น ด้าน รายได้ + ค่าใช้จ่าย ซึ่งมีดังนี้

>> ความเสี่ยงด้าน - รายได้จากการประกอบกิจการ

1. รายได้ที่แสดงในงบการเงินไม่สัมพันธ์กับต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจแสดงได้ว่า กิจการบันทึกรับรู้รายได้ไม่สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริง

2. กิจการมีรายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ไม่นำมาบันทึกเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของกิจการ

3. กิจการมีรายได้จากการส่งเสริมการขาย แต่ไม่ได้รับรู้เป็นรายได้

4. กิจการมีรายได้ค่าโฆษณาจากการแลกเปลี่ยนการให้บริการระหว่างกัน แต่ไม่ได้รับรู้เป็นรายได้ของกิจการ

5. กิจการมีการขายผลิตภัณฑ์พลอยได้ หรือของเสียจากกระบวนการผลิต แต่ไม่รับรู้เป็นรายได้

6. กิจการมีการจำหน่ายสินทรัพย์ แต่ไม่รับรู้กำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์

7. กิจการได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ที่ตัดเป็นหนี้สูญแล้ว แต่ไม่ได้รับรู้เป็นรายได้

8. กิจการได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากการประกันภัย แต่ไม่ได้รับรู้เป็นรายได้

9. กิจการมีการให้ส่วนลดแก่ลูกค้าสูงเกินกว่าความเป็นจริง หรือธรรมเนียมปกติทางการค้า

 

>> ความเสี่ยงด้าน - ต้นทุนขาย/บริการ

1. กิจการบันทึกบัญชีรายการซื้อสินค้าสูง/ต่ำกว่าข้อเท็จจริง

2. กิจการมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นแต่มีรายได้ที่ลดลง

3. กิจการไม่มีการปันส่วนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นต้นทุน

 

>> ความเสี่ยงด้าน - ค่าใช้จ่ายในการขาย

1. กิจการมีรายการค่านายหน้า ค่าส่งเสริมการขาย ค่าใช้จ่ายพนักงานสูงเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ของกิจการ

2. กิจการมีค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เช่น ค่าแรง ค่านายหน้า ค่าขนส่ง ค่าที่ปรึกษา

 

>> ความเสี่ยงด้าน - ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

1. กิจการบันทึกค่าซ่อมแซมที่มีจำนวนสูงเป็นสินทรัพย์ของกิจการ หรือกิจการบันทึกค่าใช้จ่ายที่ต้องนำมาเป็นต้นทุนของสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่าย

2. กิจการบันทึกค่าใช้จ่ายไม่ถูกต้องตามรอบรอยะเวลาบัญชี โดยไม่ได้ปรับปรุงเป็นรายการค่าใช้จ่ายค้างจ่ายไว้ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ หรือไม่ไ้ปรับปรุงเป็นค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า เช่น ค่าประกันภัย

3. กิจการบันทึกดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อการได้มาซึ่งสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชี

 

สรุป :

ดังนั้น ท่านผู้ประกอบการควรระวังเกี่ยวกับเอกสารทางบัญชี และ การทำบัญชี ภาษี >>> ให้เป็นไปตามความจริง และปฏิบัติตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร หรือ ขอคำแนะนำ จาก สำนักงานบัญชี หรือ ผู้ให้บริการ รับทำบัญชี

เพื่อป้องกัน ปัญหาการตรวจสอบจากสรรพากรในภายหน้า ซึ่งอาจจะมี ค่าปรับ เงินเพิ่ม ต่างๆ ที่อาจตามมาได้

ที่มา : กรมสรรพากร

 
จดทะเบียนบริษัท เปิดบริษัท รับทำบัญชี ยื่นภาษี รับตรวจสอบบัญชี




บริษัท แอคเคาท์เวิร์ค จำกัด

Tel : 092-478-2917

Line : @accountworks


Recent Posts
Please Follow Us
bottom of page